|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ชื่อเพลง :
จำนวนผู้ฟัง ณ ปัจจุบัน : |
|
|
|
วิธีฝึกลูกดิ่ง
1. เช็คสภาพร่างกาย และ จิตใจว่า ขณะจะฝึกนั้น ไม่เพลียเกินไป เช่น หากทำงานหนักมาทั้งวัน มาฝึก ผลที่ได้จะพลาด บางครั้ง
ลูกดิ่งไม่ทำงานเลย, ขณะที่ป่วย ลูกดิ่งก็จะทำงานพลาด ไม่ควรฝึก, อดนอน, หิวข้าวจัด .. กรณีเหล่านี้ ทำให้สมาธิไม่แน่วแน่ ไม่ควรฝึก
2. เมื่อเริ่มฝึก ให้ back to basic ก่อน คือ เริ่มต้นด้วย วิธีการถือลูกดิ่ง
ท่าที่ 1. ข้อศอกข้างขวา ควรวางยันไว้บนแท่น โต๊ะ หรือหมอนหรืออะไรก็ได้ที่ไม่เคลื่อน ไม่ควรปล่อยให้ศอกลอย
จะทำให้ลูกดิ่งแกว่ง
ท่าที่ 2. ถ้ามีพื้นที่สะดวก ทาบข้อศอกไปถึงปลายแขนราบลงไปเลยได้ยิ่งดี เช่น วางท่อนแขนช่วงล่างทาบบนโต๊ะ แล้วทิ้งลูกดิ่งลงมาใต้โต๊ะ ท่านี้จะมั่นใจได้ว่ามือไม่สั่น
3. เช็คการสื่อสารระหว่างเรา กับลูกดิ่ง โดยไม่ต้องดิ่งที่มือ แล้วสื่อสารให้ลูกดิ่งแกว่งในทิศทางที่ต้องการ เช่น พูดในใจว่า “ขอให้ท่านแกว่งซ้ายไปขวา”, “ขอให้หยุดนิ่ง”, ขอให้แกว่งวงกลมวนขวา, ขอให้แกว่งวงกลมวนซ้าย, ขอให้แกว่งหน้าหลัง ลองทุกคำสั่ง ถ้าทำได้ แสดงว่าสมาธิใช้ได้ การสื่อสารเริ่มดีขึ้น
4. ดิ่งที่เนินพฤหัสฝ่ามือซ้าย (เป็นเนินระหว่างโคนนิ้วชี้กับเส้นแบ่งกึ่งกลางฝ่ามือ) ถามคำถาม basic ที่เรารู้คำตอบอยู่แล้ว โดยก่อนถาม ต้องทำใจให้เป็นกลาง ไม่ใช่จิตบังคับให้ลูกดิ่งแกว่ง หรือ นิ่ง ห้ามบังคับ ! เช่น ถามว่า “ฉันเป็นผู้ชายใช่ไหม” ถามแล้ว ใจก็ปล่อยเฉย ๆ ดูเองว่าลูกดิ่งจะแกว่งหรือไม่ ไม่ใช่ใจไปบังคับว่า “แกว่งซี แกว่งหน่อยดิ” หรือ “อย่าแกว่งนะ” นั่นคือการใช้จิตบังคับ ซึ่งผิด ลูกดิ่งจะสับสน และ จะให้ผลที่ผิด
5. วิธีถามเช็ค เมื่อไม่แน่ใจว่า เมื่อกี๊มือเราสั่นไปเอง หรือ ลูกดิ่งแกว่ง ให้ถามคำถามเดิม แต่เปลี่ยนเป็นประโยคปฏิเสธ เช่น
•ครั้งแรกถามว่า “ฉันเป็นผู้ชาย ใช่หรือไม่” ลูกดิ่งแกว่ง แต่เราไม่แน่ใจว่า มือเราสั่นไปเอง หรือ ลมพัด เราจึงต้องการเช็คใหม่
•ให้ถามกลับอีกทีว่า “ฉันไม่ใช่ผู้ชาย (หรือ ฉันเป็นผู้หญิง) ใช่หรือไม่” หากลูกดิ่งนิ่ง แสดงว่า คำตอบทั้งสองครั้ง เป็นคำตอบที่ถูกต้อง /
หากลูกดิ่งแกว่งอีก แสดงว่า คำตอบที่ได้ทั้งสองข้อ ยังเชื่อถือไม่ได้ ให้เริ่มต้นถามใหม่
เมื่อฝึกได้จนมั่นใจแล้ว ก็ค่อยถามคำถามอื่น ๆ โดยขอให้เข้าใจเรื่องความแม่นดังนี้
1. เรื่องอดีต จะมีความแม่นยำน้อยกว่าเรื่องปัจจุบัน เช่น
1.1 เราถามว่า ปัจจุบันเรามีพยาธิเส้นด้ายใช่หรือไม่ ลูกดิ่งตอบว่า ใช่
1.2 เราถามต่อว่า พยาธิเส้นด้ายนี้ ติดมาตั้งแต่ 4 วันที่แล้ว ใช่หรือไม่ ลูกดิ่งตอบว่า ใช่
กรณีนี้ ให้เข้าใจว่า ข้อ 1.2 คือเหตุการณ์ในอดีต จะมีความแม่นยำน้อยกว่า ข้อ 1.1 ยิ่งอดีตที่ผ่านมานาน ยิ่งพลาดได้มากกว่า
2. เรื่องอนาคต จะมีความแม่นยำ น้อยกว่าเรื่องในอดีตเสียอีก เพราะ อนาคตคือเรื่องที่ยังไม่เกิด หรือ หากเป็นเรื่องที่กฎแห่งกรรมบีบบังคับ ก็ไม่สามารถรู้ได้
3. เรื่องที่ไกลตัว จะมีความแม่นยำน้อยกว่าเรื่องใกล้ตัว เช่น ถามเรื่องเหตุการณ์ใน USA จะแม่นน้อยกว่าถามเรื่องเหตุการณ์ในประเทศไทย, ถามเรื่องคนที่ใกล้ชิดเรา โดยเขาไม่ได้อยู่ด้วย (ใช้นึกหน้าเอา) จะแม่นยำกว่า ถามเรื่องคนไกลตัว และ ไม่ได้อยู่ด้วย เป็นต้น
4. เรื่องที่กฎแห่งกรรมกำหนดว่า ไม่ควรรู้ ก็จะไม่รู้ แม้กระทั่งเรื่องของตัวเอง เช่น ถามว่า วันนี้หากขับรถไปเส้นทางนี้ จะไม่เกิดอุบัติเหตุ ใช่หรือไม่ หากไม่มีอกุศลกรรมสนอง ลูกดิ่งจะตอบได้ตรง แต่หากกำลังมีอกุศลกรรมบีบให้เราเกิดอุบัติเหตุ ลูกดิ่งจะตอบพลาด หรือ ลูกดิ่งไม่ทำงาน
5. รายละเอียดที่ละเอียดมาก ๆ หรือ หลักฐานที่ไม่เด่นชัด ความแม่นยำก็จะน้อย เช่น มีอาการเพลียมาได้ครึ่งวันแล้ว เช็คลูกดิ่งว่า
มีพยาธิใช่หรือไม่ ตอบว่า ไม่มี ต่อมาอีก 24 ชม. อาการหนักขึ้น เช็คลูกดิ่งอีกที ปรากฏว่า ตอบว่า มีพยาธิ นั่นแสดงว่า ขณะที่เช็คครั้งแรก จำนวนพยาธิที่ฟักเป็นตัว ยังไม่มากพอที่ลูกดิ่งจะตรวจพบ
6. ในขณะที่เราอ่อนเพลีย ความแม่นยำจะลดลง
7. ความแม่นยำของลูกดิ่งแต่ละท่านนั้น ไม่เท่ากัน
8. คำถามที่ไม่ชัดเจน หรือ คำถามที่กว้าง ต้องอาศัยการตีความเอง ก็ได้คำตอบที่พลาด เช่น ถามว่า “เขารักฉันมากใช่มั้ย ? ” คำว่า 'มาก' ตีความได้ยาก
ทั้ง 8 ข้อนี้ เป็นแค่ค่าเฉลี่ยโดยรวม ไม่ได้หมายความว่า จะต้องไม่แม่นยำแบบนี้ ทุกครั้ง ทุกคน เพราะ คนที่ใช้ลูกดิ่งจนสามารถบอกเหตุการณ์ในอนาคตได้อย่างแม่นยำนั้น ก็มีจริง ฉะนั้น อย่าให้ 8 ข้อนี้ ทำให้เราท้อใจ
หากเกิด 8 ข้อนี้ ก็ไม่ต้องตกใจ เป็นปกติ ค่อย ๆ พัฒนาฝึกฝน จะก้าวข้ามข้อจำกัดเหล่านี้ไปได้
ลูกดิ่งทดสอบเรา !!!! สำคัญมาก สำหรับที่ผู้ทีฝึกใหม่ ๆ
สำหรับผู้ที่ฝึกใหม่ ท่านจะเจอช่วงทดสอบใจ หลังจากฝึกลูกดิ่งได้ซักพัก เริ่มคุ้นเคย สื่อสารได้ดี ทำนายแม่น จู่ ๆ มาวันหนึ่ง ลูกดิ่งก็ไม่ทำงาน ถามอะไรก็ไม่ตอบ หรือ แกล้งตอบพลาดในหัวข้อง่าย ๆ ทำให้เราหงุดหงิด ยิ่งหงุดหงิด ยิ่งพลาด ยิ่งไม่ทำงาน
หลาย ๆ คนเจอช่วงนี้แล้วท้อ จึงเลิกใช้ลูกดิ่ง เก็บขึ้นหิ้งเรียบร้อย ไม่แตะต้องอีกเลย เพราะงอน ถ้าท่านเจออาการนี้ ให้งดใช้ลูกดิ่งชั่วคราว แล้วฝึกสมาธิให้จิตใจสงบ เลิกหมกมุ่นกับลูกดิ่ง
สักวันสองวัน กลับมาใช้ใหม่ ถ้ายังไม่ได้ ก็พักให้นานขึ้นเป็น 3-4 วัน ทำสมาธิ ต่อไปเรื่อย ๆ แล้วกลับมาใช้ใหม่
ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ อย่าท้อ อย่าเร่งรัดจนเครียด จนลูกดิ่งรู้แน่ว่าท่านเอาจริง ลูกดิ่งก็จะกลับมาทำงานเหมือนเดิม
ถ้าท่านผ่านช่วงนี้ไปได้ ท่านก็สามารถใช้ลูกดิ่งได้ตลอดไป
คลิปเสียงสัมภาษณ์ วิธีการฝึกลูกดิ่งด้วยตนเอง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Copyright © 2008, pendulumthai.com All rights reserved |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|