| |||||||
| |||||||
วีรบุรุษกิลกาเมซ และ เพื่อนชื่อเอนกิดู ทำการรบพุ่งกับปีศาจ และ ได้ชัยชนะกลับมาเสมอ เมื่อกิลกาเมซรู้ข่าวการตายของเพื่อน ก็โศกเศร้าเป็นอันมาก ซึ่งแม้จะมีพละกำลังและความกล้าหาญเหนือปุถุชนทั่วไป เขาระลึกได้ว่าบรรพบุรุษของเขาซึ่งมีนามว่า อุทนาบิชทิม เป็นมนุษย์โลกเพียงคนเดียวที่มีความเป็นอมตะ เขาออกเดินทางไปค้นหาอุทนาบิชทิมเพื่อขอความลับของชีวิต และ ความตาย กิลกาเมซมาถึงตีนเขาใหญ่ที่มีมนุษย์แมงป่องเฝ้าอยู่ กิลกาเมซเดินทางต่อไปจนถึงที่ประทับของพระอาทิตย์ ในที่สุด เขาก็มาถึงชายฝั่งทะเลแห่งความตาย เขาพบคนแจวเรือที่เคยคัดท้ายเรือให้อุทนาบิชทิม เมื่อครั้งเกิดน้ำท่วมโลกที่ทำลายล้างทุกสรรพสิ่ง เขาขอให้ชายผู้นั้นพาเขาข้ามทะเลแห่งความตาย แต่ชายชราบอกให้เขาต่อเรือขึ้นมาเอง และระวังไม่ให้น้ำกระเด็นมาถูกตัวระหว่างข้ามทะเล แต่อุทนาบิชทิมก็พูดเหมือนคนอื่น ๆ จนกิลกาเมซถอดใจ เตรียมเดินทางกลับ กิลกาเมซพายเรือออกไปกลางทะเล และ ดำน้ำลงไปจนพบต้นไม้มหัศจรรย์ เมื่อกิลกาเมซรู้ว่ากิ่งไม้หาย ก็ร้องไห้เสียใจ แม้แต่วีรบุรุษยิ่งใหญ่เช่นเขาก็ไม่มีทางเป็นอมตะ และ ต้องเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอย่างมีความสุขในปัจจุบันขณะ และ ยอมรับจุดจบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เรื่องของกิลกาเมซนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ อันที่จริง ความกลัวตายทำให้เกิดศาสนาขึ้นหลายศาสนา แต่ละความเชื่อ แต่ละลัทธิ ก็มีการกำหนดเรื่องชีวิตหลังความตายไว้แตกต่างกัน คำสอนของศาสนาในโลกเกี่ยวกับเรื่องความตายมีสุดโต่งอยู่ 2 อย่างคือ 1. อุจเฉททิฏฐิ มีความเชื่อว่าเมื่อตายแล้ว ชีวิตสูญหมด ไม่มีการเกิดใหม่ ไม่มีกรรมดี กรรมชั่วไม่มีโลกหน้า เมื่อตายไป ธาตุดินคืนสู่ดินธาตุน้ำคืนสู่น้ำ ธาตุลมคืนสู่ลมและธาตุไฟคืนสู่ไฟ 2. สัตสตทิฏฐิ มีความเชื่อว่าชีวิตเที่ยงถาวร วิญญาณเป็นอมตะ ถ้าทำดีก็จะมีชีวิตนิรันดร์กับพระเจ้าอย่างมีความสุข ส่วนคนทำชั่วก็จะเสวยทุกข์ในนรกตลอดนิรันดร์กาล ความเชื่อเกี่ยวกับความตายที่แตกต่าง ส่งผลให้บุคคลใช้ชีวิตที่แตกต่างสอดคล้องกับความเชื่อของตน ผู้ที่มีความเชื่อว่าโลกหน้าไม่มีจริงมักเป็นนักวัตถุนิยม พยายามหาความสุข กินดื่มรื่นเริง ขณะยังมีชีวิตอยู่ ส่วนผู้ที่เชื่อเรื่องนรกสวรรค์ก็จะกลัวบาปกรรม จะไม่ทำความชั่ว อันที่จริงแล้ว ความเชื่อที่ว่ามีนรกสวรรค์ มีความอุ่นใจ 2 ประการ คือ คนที่ไม่กลัวบาปกลัวกรรรม แม้แต่ไม่มีชาติหน้า แต่ชาตินี้เขาก็อยู่ไม่เป็นสุข สำหรับพุทธศาสนา ความเชื่อทั้งสองนับว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งคู่
เนื่องจากจิตมีการเกิดดับ ๆ ตลอดเวลาด้วยความเร็วหลายล้านขณะในหนึ่งวินาที โดยจิตที่ดับไปจะส่งทอดพลังกรรมทุกอย่างให้ดวงใหม่ เนื่องจากพลังกรรมอยู่ในรูปแบบของพลังงานที่ไม่มีวันสูญสลายไปจากจักรวาล อย่างไรก็ตามด้วยความเร็วขนาดนั้น ทำให้เราไม่รู้สึกถึงการขาดตอน จิตของเราไม่สามารถอยู่ได้โดยไม่มีรูปมารองรับ แต่เนื่องจากบุคคลย่อมทำกรรมต่าง ๆ ทั้งด ีและ ชั่วในชีวิตหนึ่ง ๆ กรรมที่มีกำลังมาก เรียกว่า คุรุกรรม ถ้าเป็นกรรมดี กรรมที่มีกำลังรองลงมาคือ อาจิณณกรรม เป็นกรรมที่ทำประจำจนติดตัว และ หยั่งรากฝังลึกลงในทั้งหลาย “ภิกษุยิ่งตรึกตรองถึงวิตกใด ๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้น ๆ มาก” จึงจำเป็นที่เราจะต้องคิดดี พูดดี ทำดีอยู่ให้ติดเป็นนิสัยส่งผลไปเป็น อาสันนกรรม หรือ กรรมใกล้ตาย ซึ่งมีความสำคัญมาก จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา ดังนั้น เราจึงมักนิยมนิมนต์พระมาสวดมนต์แก่ผู้ใกล้เสียชีวิต แต่การจะทำเช่นนั้นได้ จิตจะต้องถูกฝึกมาอย่างดี จะให้ปล่อยวางในทันทีโดยไม่เคยสะสมบุญบารมีมาคงไม่ได้ สุดท้ายคือ กตัตตากรรม คือกรรมสักแต่ว่าทำ ไม่มีเจตนา เช่น เดินเหยียบกิ้งกือตายโดยไม่ตั้งใจ หรือ ทำบุญเพื่อเอาหน้าโดยไม่ประกอบด้วยปัญญา อันนี้เป็นกรรมที่มีกำลังอ่อน ให้ผลเมื่อไม่มีกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีกำลังมากกว่า ดังนั้นเมื่อเกิดมาแล้ว ปัจจุบันเป็นผลของการกระทำในอดีต ______________________________________________________________ โดย ดร.อภิวรรณ รัตนิน สายประดิษฐ์ ขอเชิญแสดงความคิดเห็นได้ ที่นี่
|
|||||||