ประสบการณ์การใช้เพนดูลั่มของ Diane Stein

บทที่ 6 การตั้งคำถาม

 

วิธีการตั้งคำถามเพื่อถามเพนดูลั่ม

เพนดูลั่มสามารถให้คำตอบกับเราได้เฉพาะ “ใช่” กับ “ไม่ใช่” และ คำตอบที่ไม่เชิงตอบว่า “อาจจะ”

ดังนั้นคุณจะต้องจัดระบบการถามของคุณเสียใหม่ให้คำตอบเพียง “ใช่/ไม่ใช่” สามารถให้ข้อมูลที่คุณต้องการได้ทั้งหมด ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช่คำถามปกติที่คนเราใช้ในการถาม มันจึงเป็นทักษะใหม่ที่เราต้องเรียนรู้กัน

เพนดูลั่มของคุณจะมีประโยชน์มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับทักษะในการตั้งคำถามของคุณ และ การหมั่นฝึกฝนด้วย เมื่อคุณได้เรียนรู้ทักษะของภาษานี้แล้ว จะพบว่าข้อมูลที่จะได้จากเพนดูลั่มโดยการอำนวยการของชาวโลกทิพย์ขั้นสูงสุด นั้นมากมายมหาศาล แทบจะไม่มีขีดจำกัด

ในอารยธรรมยุคใหม่ของพวกเรานั้น พื้นฐานของเทคโนโลยีขั้นสูงคือคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ได้แทรกซึมเข้ามาในชีวิตของเราแทบทุกด้าน ตั้งแต่การแพทย์ไปจนถึงความบันเทิง เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับแทบจะทุกสาขา เปรียบได้ดั่งการบรรจุห้องสมุดทั้งหลายไว้ในกล่องเล็ก ๆ

ทุกวันนี้เด็ก ๆใช้คอมพิวเตอร์เป็นก่อนที่จะหัดอ่านเสียอีก พวกเขามีความชำนาญในการใช้มากกว่าผู้ใหญ่ส่วนมาก พวกเขาเติบโตมากับคอมพิวเตอร์ และ ภาษาของมัน รวมทั้งเข้าใจ และ รู้วิธีการใช้งานเป็นอย่างดี

เราคงได้เห็นเด็กรุ่นนี้ปฏิเสธทักษะ และ เครื่องมือที่สำคัญต่อชีวิตของคนรุ่นก่อน และ หันไปสร้างวัฒนธรรมของตนเองที่ตั้งอยู่บนเทคโนโลยีที่สักไม่กี่ปีก่อนนี้ ยังไม่มีอยู่ด้วยซ้ำไป

เพนดูลั่มเปรียบได้กับคอมพิวเตอร์ที่มีความเรียบง่ายที่สุด

คอมพิวเตอร์ทำงานบนระบบเลขฐานสองคือการเข้ารหัสที่มีทางเลือกแค่สองทาง เช่น ถ้าไม่เป็น 1 ก็ต้องเป็น 2 หรือ ถ้าไม่ “ปิด” ก็ต้อง “เปิด” หรือ ให้เลือกระหว่าง “ใช่” กับ “ไม่ใช่”

คล้ายการเข้ารหัสผสมคำของอักษรเบรลล์สำหรับคนตาบอด หรือ รหัสมอร์สที่ใช้ในโทรเลข

แน่นอน รหัสเหล่านี้สามารถนำไปสร้างเป็นภาษาได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ทุกชิ้นส่วนข้อมูลในคอมพิวเตอร์ล้วนประกอบขึ้นด้วยรหัสฐานสองเหล่านี้ ซึ่งใกล้เคียงกับการทำงานของสมองของมนุษย์

เราอาจเปรียบกระบวนการสร้างของเทพเจ้า (Creation) ประดุจการทำงานของคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่ต่อเชื่อมกันเป็นซีรีส์ เช่นเดียวกับจิตของเทพผู้สร้างซึ่งไม่ได้มีจิตเดียว

ถ้าระบบที่ทำงานด้วยรหัส “ใช่” กับ “ไม่ใช่” สามารถทำให้คอมพิวเตอร์สร้างสรรค์เทคโนโลยีต่างๆ ออกมาได้ และทำให้เกิดขึ้นได้แม้แต่กระบวนการสร้างของจักรวาล เราก็สามารถนำมันมาใช้กับการทำงานร่วมกับเพนดูลั่มได้ เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม คนที่ใช้คอมพิวเตอร์มักจะไม่ชินกับภาษาที่มีทางเลือกแค่สองทาง คือ “ใช่” กับ “ไม่ใช่” รหัสฐานสองในคอมพิวเตอร์จึงถูกแปลงมาเป็นภาษาที่มนุษย์คุ้นเคย แต่สำหรับเพนดูลั่ม เราไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากจะต้องเรียนรู้รูปแบบของภาษาใหม่นี้ ซึ่งอาจจะดูงุ่มง่ามในช่วงแรก แต่เมื่อได้เรียนรู้แล้ว คุณจะได้รับกุญแจที่จะพาคุณไปสู่ข้อมูลมากมายมหาศาล

โดยนัยเดียวกันกับการเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเปิดประตูสู่แหล่งข้อมูลทั่วโลกเช่นเดียวกัน ความคล้ายคลึงนี้ รวมไปถึงความผิดพลาดในการป้อนข้อมูลด้วย ข้อมูลเข้าที่ผิดพลาดย่อมนำไปสู่คำตอบที่ผิดพลาด เหมือนกันเลยทั้งกับคอมพิวเตอร์ และ เพนดูลั่ม ดังนั้นการเรียนรู้ภาษาที่ใช้รหัสฐานสองของเพนดูลั่ม ก็จะสามารถลดและป้องกันความผิดพลาดได้มากมาย นำไปสู่คุณภาพของข้อมูลและความถูกต้องของผลลัพธ์ที่คุณจะได้รับ

Diane SteinDiane พบว่า การที่เพนดูลั่มไม่ทำงาน หรือไม่แม่นยำ หลายครั้งเป็นเพราะคำถามที่ถามออกไป ไม่ได้เรียบเรียงให้อยู่ในภาษาที่จะทำให้ได้คำตอบที่ชี้เฉพาะ

แน่นอนที่คำถามของคุณจะต้องถามเพื่อเอาคำตอบ “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” ไม่มีทางที่จะหลบเลี่ยงจากหลักเกณฑ์ข้อนี้ไปได้ คำถามจึงต้องถูกเรียบเรียงให้ออกมาเรียบง่าย และไม่มีความกำกวมใด ๆ

คำถามที่ชัดเจนนำมาซึ่งคำตอบที่ชัดเจน คำถามที่ไม่ชัดเจนก็นำมาซึ่งคำตอบที่ไม่ชัดเจนหรือหนักกว่านั้นก็คือคำตอบ ที่ผิดไปเลย

คนทำงานกับคอมพ์จะมีสำนวนที่พูดกันว่า “เอาขยะเข้าไป ก็ได้ขยะออกมา”

หน้าที่ของคุณจึงเป็นการถามอย่างชัดเจน ใสแจ๋ว ปราศจากขยะใด ๆ ในความคิด

เรากลับมาที่ความคิดกันอีกครั้ง เพราะมันเป็นวัตถุดิบสำหรับทุกแง่มุมของการสรรค์สร้าง (Creation)

ความคิดเป็นวัตถุดิบในงานสร้างสรรค์ในคอมพิวเตอร์ ในงานที่ใช้ความสามารถทางพลังจิต และ ในการใช้งานเพนดูลั่ม

ความคิด หรือ จิต นี่เอง คือหนทางในการส่งข้อมูลระหว่างคุณกับเทพของคุณ 

เพนดูลั่มเป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูล เป็นหนทางในการรับทราบคำตอบจากเทพ

เพนดูลั่มเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้รับข้อมูลและแสดงผลเท่านั้น เพนดูลั่มไม่ได้คิด

เพนดูลั่ม

สิ่งที่เครื่องมือชิ้นนี้รับมา ก็คือ คำตอบของคำถามที่คุณถามไป

คำถามที่สร้างขึ้นมา คำถามที่ถูกส่งออกไป คำถามที่ถูกรับ และ คำตอบที่ถูกส่งกลับมา ล้วนแต่เป็นไปโดยผ่านจิต คำตอบที่คุณได้รับล้วนแต่เป็นผลจากคำถามที่คุณถามอย่างเที่ยงแท้ เทพของคุณไม่สามารถแก้ไข แล ะจะไม่แก้ไขคำถามของคุณเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่อยู่ในใจของคุณจริงๆ (แต่ไม่ได้ถามออกมา)

เทพจะตอบกลับมากับสิ่งที่คุณถามออกไปเท่านั้น !


ทำไมน่ะเหรอ ?  

ลองมาพิจารณาความสามารถของเทพในการรับรู้ แล ะการได้มาซึ่งความรู้ ซึ่งพัฒนาจากระดับความสามารถของมนุษย์ไปมาก เราอาจเรียกได้ว่านั่นเป็น “เทคโนโลยี” ของเหล่าทวยเทพ ซึ่งแม้แต่จะจินตนาการก็ยังยากเลย

ความสามารถของเทพที่จะได้มาซึ่งข้อมูลจากเทพด้วยกัน ข้อมูลจากตัวเรา หรือข้อมูลจากองค์ความรู้รวมแห่งเทพ (Collective Consciousness) นั้น เรียกได้ว่าไม่มีขีดจำกัด  ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเมื่อองค์หนึ่งรู้ องค์อื่น ๆ ก็จะรู้ตามไปด้วย

 

อ่านหน้า > 2, 3, 4